1.สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ

1. สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ
         จากการศึกษาสมบัติต่าง ๆ ของธาตุในตารางธาตุ  เช่น  ขนาดอะตอม  พลังงานไอออไนเซชัน  และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี  จะพบว่าสมบัติเหล่านี้มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากซ้ายไปขวาในแต่ละคาบ  หรือจากบนลงล่างในแต่ละหมู่ค่อนข้างสม่ำเสมอ  สมบัติเกี่ยวกับจุดหลอมเหลว  จุดเดือด  และความเป็นกรด–เบสของสารประกอบคลอไรด์และออกไซด์ ดังตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงสมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2

สารประกอบคลอไรด์ของ
ธาตุคาบ
ที่ 2
สมบัติ

LiCl
BeCl2
BCl3
CCl4
NCl3
Cl2O
ClF
จุดหลอมเหลว (OC)
605
405
-107.3
-23
-40
-20
-154
จุดเดือด (OC)
1350-1360
520
12.5
76.8
71
3.8
-101
 ความเป็นกรด–เบส
ของสารละลาย
กลาง
กรด
กรด
ไม่ละลายน้ำ
ไม่ละลายน้ำ
กรด
กรด

ตารางแสดงสมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 3

สารประกอบคลอไรด์ของธาตุคาบ
ที่ 3
สมบัติ

NaCl
MgCl2
AlCl3
SiCl4
PCl3
SCl2
Cl2***
จุดหลอมเหลว (oC)
801
714
190*
-70
-112
-78
-101
จุดเดือด (oC)
1465
1412
182.7**
57.57
75.5
59 (สลายตัว)
-34.6
ความเป็นกรด–เบส
ของสารละลาย
กลาง
กลาง
กรด
กรด
กรด
กรด
กรด

*          ใช้ความดันทำให้หลอมเหลว
**       ระเหิดก่อนหลอมเหลวที่ความดัน บรรยากาศ
***     ปรากฏอยู่ในรูปโมเลกุลของธาตุ

จากตาราง เมื่อพิจารณาจุดหลอมเหลว–จุดเดือดของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ และ สรุปได้ดังนี้

1.คลอไรด์ของโลหะ  มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง  เพราะเป็นสารประกอบไอออนิก (ยกเว้น BeCl2 เป็นสารประกอบโคเวเลนต์)

2.คลอไรด์ของอโลหะ มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ  เพราะเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ที่โมเลกุลยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์

3.สารประกอบคลอไรด์ที่ละลายน้ำได้  พบว่าคลอไรด์ของโลหะมีสมบัติเป็นกลาง  (ยกเว้น BeCl2 และ AlCl3 เป็นกรด)  ส่วนสารละลายคลอไรด์ของอโลหะทุกชนิดมีสมบัติเป็นกรด


ข้อสังเกตสมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และ 3

    1.  แนวโน้มของจุดหลอมเหลวของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และ 3  จะลดลงจากซ้ายไปขวา  นั่นคือคลอไรด์ของโลหะ (ซ้าย)  มีจุดหลอมเหลวสูงมาก เพราะเป็นสารประกอบไอออนิก  ส่วนคลอไรด์ของอโลหะ (ขวา)  จะมีจุดหลอมเหลวต่ำลง  เพราะเป็นสารประกอบโคเวเลนต์  ไม่นำไฟฟ้า

    2.  คลอไรด์ของธาตุหมู่ 3 BCl3 (คาบ 2)  มีสถานะเป็นแก๊ส  (สารโคเวเลนต์)  AlCl3 (คาบ 3)  มีสถานะเป็นของแข็ง (สารไอออนิก)

    3.  คลอไรด์ของธาตุหมู่ 4 CCl4 (คาบ 2) SiCl4 (คาบ 3) เป็นของเหลว ไม่มีขั้ว จึงไม่ละลายน้ำ  มีรูปร่างเป็นทรงสี่หน้า

    4.  คลอไรด์ของธาตุหมู่ 5 NCl3 เป็นของเหลว PCl3 เป็นของเหลว  ส่วน PCl5 เป็นของแข็ง

    5.  คลอไรด์ของธาตุหมู่ 6 Cl2O (คาบ 2) เป็นแก๊ส   , SCl2 (คาบ 3)  เป็นของเหลว เพราะมวลโมเลกุลมากขึ้น  แรงแวนเดอร์วาลส์แข็งแรงมากขึ้น

    6.  คลอไรด์ของธาตุหมู่ 7    เป็นแก๊สทั้งหมด



ข้อสังเกตสมบัติของสารประกอบออกไซด์ของธาตุในคาบที่ 2 และ 3

    1.  ออกไซด์ของอโลหะมีจุดหลอมเหลวต่ำ  มีสถานะเป็นแก๊ส  แต่ออกไซด์ของธาตุหมู่ 5 บางชนิด  เช่น N2O5 (คาบ 2)  , P4O10 (คาบ 3)  มีสถานะเป็นของแข็ง

    2.  สมบัติความเป็นกรด–เบส  เป็นไปตามออกไซด์ของโลหะหมูEIA–IIA (เบส)  ออกไซด์ของอโลหะ (กรด)  และออกไซด์ของกึ่งโลหะ Be และ Al มีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส

    3.  ออกไซด์ของอโลหะละลายน้ำเป็นกรด  ยกเว้น  อกไซด์ของ H คือ H2O  เป็นกลาง

CO2(g)  +  H2O(l) H2CO3(aq)

SO2(g)  +  H2O(l) H2SO3(aq)

สำหรับ SiO2 ไม่ละลายน้ำ  แต่มีสมบัติเป็นกรด  โดยทำปฏิกิริยากับเบสได้ดังนี้

SiO2(s)  +  NaOH(aq) Na2SiO3(aq)  +  H2O(l)

    4.  ออกไซด์ของโลหะละลายน้ำเป็นเบส

Li2O(s)  +  H2O(l) LiOH(aq)

Na2O(s)  +  H2O(l) NaOH(aq)

    5.  ออกไซด์ที่ี่ไม่ละลายน้ำและมีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส  (โดยสามารถเกิดปฏิกิริยาได้ทั้งกับกรดหรือเบส)  คือ BeO  และ  Al2O3

BeO(s)  +  NaOH(aq)  +  H2O(l) (aq)  + Na+(aq)

BeO(s)  +  HCl(aq) BeCl2(aq)  +  H2O(l)

Al2O3(s) + NaOH(aq) + H2O(l) Na+(aq) + 2 (aq)

Al2O3(s)  +  HCl(aq) AlCl3(aq)  +  H2O(l)

    6.  ออกไซด์ที่ไม่ละลายน้ำเลยคือ  BeO  ,  Al2O3 ,  SiO2

    7.  ออกไซด์ของอโลหะเป็นแก๊สหรือของเหลว  ยกเว้น  SiO2 ,  P4O10 ,  N2O5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น